คงเหลือ รอคิว รอ/วัน
1/1 0 0
  • ประเภท : อีบุ๊ก
  • สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • Author : รัชนีกร แซ่วัง
  • ISBN :9786163149091
  • ภาษา : ไทย
  • จำนวนหน้า : 191
  • ขนาดไฟล์ : 8.05 MB
“ทัศนวัฒนธรรมร่วมสมัย” คือ ชื่อตำราที่ใช้ชื่อเดียวกันกับวิชา จวอ 215 ทัศนวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่ใช้ประกอบการสอนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 หลักสูตรการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI) และสำหรับผู้สนใจทั่วไป ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนวิจัย วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ องค์ประกอบของตำราเล่มนี้ ได้จำลององค์ประกอบการมองในมิติของวัฒนธรรมศึกษา (Cultural Studies) ภายใต้คำอธิบายเชิงทฤษฎีสังคมวิทยาและทฤษฎีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อันมีองค์ประกอบสองส่วนหลักๆ คือ“การมอง” (Gaze) และ “สิ่งที่เห็น” (Being gazed) ทั้งนี้ “การมอง” จะแสดงให้เห็นความรุ่มรวยและมโนทัศน์ต่างๆ เกี่ยวกับการมอง ตลอดจนคำอธิบายเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกิริยาของดวงตาในบทที่ 1 ในขณะที่ “สิ่งที่เห็น” หรือ “ภาพ” ทั้งในเชิงความหมายและความสำคัญจะสะท้อนผ่านวิวัฒนาการของภาพ ซึ่งเริ่มจากภาพจิตรกรรมบนผนังถ้ำ อันเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นการถ่ายทอด “สิ่งที่เห็น” ด้วย “การมอง” โดยมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ และพัฒนามาสู่งานจิตรกรรมบนผืนผ้า ภาพถ่าย ภาพยนตร์ และภาพดิจิทัลรวมถึงประเภทของภาพที่แสดงให้เห็นคุณลักษณะเฉพาะในมิติต่างๆ อันจะแสดงให้เห็นในบทที่ 2 ตลอดจนการทดลองมอง “ภาพถ่ายงานแต่งงาน” ในมิติ “ภาพ” ตามความหมายที่คนส่วนใหญ่เข้าใจในบทที่ 3 สารบัญ บทที่ 1 ความสำคัญและนัยแห่งการมอง บทที่ 2 วิวัฒนาการและความหมายของภาพ บทที่ 3 ภาพถ่ายงานแต่งงาน: สัญญะแห่งการบริโภคและการผลิตซ้ำ บทที่ 4 ร่างกาย : สิ่งใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม บทที่ 5 เพศวิถี : ความหลากหลายทางเพศที่ (ไม่) หลากหลาย บทที่ 6 ปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน: ปฏิบัติการแห่งการต่อรอง (tactics) บทที่ 7 วัฒนธรรมป็อป : จากติ๊กตอก สู่ความบันเทิงและอำนาจ บทที่ 8 ความทรงจำ : เครื่องมือต่อสู้ของท้องถิ่นสู่ทุนทางวัฒนธรรม บทที่ 9 พิพิธภัณฑ์ : พื้นที่แห่งภาพตัวแทนและอำนาจ บทที่ 10 ละครเวที : อุดมคติความเป็นไทยและชนชั้น
“ทัศนวัฒนธรรมร่วมสมัย” คือ ชื่อตำราที่ใช้ชื่อเดียวกันกับวิชา จวอ 215 ทัศนวัฒนธรรมร่วมสมัย ที่ใช้ประกอบการสอนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 หลักสูตรการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (BMCI) และสำหรับผู้สนใจทั่วไป ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนวิจัย วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
องค์ประกอบของตำราเล่มนี้ ได้จำลององค์ประกอบการมองในมิติของวัฒนธรรมศึกษา (Cultural Studies) ภายใต้คำอธิบายเชิงทฤษฎีสังคมวิทยาและทฤษฎีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อันมีองค์ประกอบสองส่วนหลักๆ คือ“การมอง” (Gaze) และ “สิ่งที่เห็น” (Being gazed) ทั้งนี้ “การมอง” จะแสดงให้เห็นความรุ่มรวยและมโนทัศน์ต่างๆ เกี่ยวกับการมอง ตลอดจนคำอธิบายเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกิริยาของดวงตาในบทที่ 1 ในขณะที่ “สิ่งที่เห็น” หรือ “ภาพ” ทั้งในเชิงความหมายและความสำคัญจะสะท้อนผ่านวิวัฒนาการของภาพ ซึ่งเริ่มจากภาพจิตรกรรมบนผนังถ้ำ อันเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นการถ่ายทอด “สิ่งที่เห็น” ด้วย “การมอง” โดยมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ และพัฒนามาสู่งานจิตรกรรมบนผืนผ้า ภาพถ่าย ภาพยนตร์ และภาพดิจิทัลรวมถึงประเภทของภาพที่แสดงให้เห็นคุณลักษณะเฉพาะในมิติต่างๆ อันจะแสดงให้เห็นในบทที่ 2 ตลอดจนการทดลองมอง “ภาพถ่ายงานแต่งงาน” ในมิติ “ภาพ” ตามความหมายที่คนส่วนใหญ่เข้าใจในบทที่ 3
สารบัญ
บทที่ 1 ความสำคัญและนัยแห่งการมอง
บทที่ 2 วิวัฒนาการและความหมายของภาพ
บทที่ 3 ภาพถ่ายงานแต่งงาน: สัญญะแห่งการบริโภคและการผลิตซ้ำ
บทที่ 4 ร่างกาย : สิ่งใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม
บทที่ 5 เพศวิถี : ความหลากหลายทางเพศที่ (ไม่) หลากหลาย
บทที่ 6 ปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน: ปฏิบัติการแห่งการต่อรอง (tactics)
บทที่ 7 วัฒนธรรมป็อป : จากติ๊กตอก สู่ความบันเทิงและอำนาจ
บทที่ 8 ความทรงจำ : เครื่องมือต่อสู้ของท้องถิ่นสู่ทุนทางวัฒนธรรม
บทที่ 9 พิพิธภัณฑ์ : พื้นที่แห่งภาพตัวแทนและอำนาจ
บทที่ 10 ละครเวที : อุดมคติความเป็นไทยและชนชั้น