สถาปัตยกรรมคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
สถาปัตยกรรมคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์)
คงเหลือ | รอคิว | รอ/วัน |
---|---|---|
1/1 | 0 | 0 |
- ประเภท : อีบุ๊ก
- สำนักพิมพ์ : CHIANG MAI UNIVERSITY PRESS
- Author : ปิยเดช อัครโพธิวงศ์
- ISBN :9786163984548
- ภาษา : ไทย
- จำนวนหน้า : 168
- ขนาดไฟล์ : 52.74 MB
คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ เรือนไม้อายุกว่าร้อยปี เป็นหลักฐานทางประวัติประเภทเรือนพักอาศัยสำหรับคนชั้นสูงแห่งสังคมล้านนาที่ยังคงความสมบูรณ์และหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งในกลางเวียงเชียงใหม่ ปัจจุบันคุ้มเจ้าฯ แห่งนี้อยู่ในความครอบครองของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดูแลของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์หนังสือที่อาจารย์ปิยเดช อัครโพธิวงศ์ และทีมงานทำออกมานี้ เป็นการแสดงถึงการสำรวจ สืบค้น อย่างมุ่งมั่น จริงจัง ภายใต้งบประมาณอันจำกัดเพื่อที่จะพาคุณค่าในมิติต่างๆ ของสถาปัตยกรรมคุ้มเจ้าฯ ออกมาให้ปรากฏไม่ว่าจะเป็นมิติทางประวัติศาสตร์ที่คุ้มแห่งนี้ ตกทอดผ่านมือมาจากรุ่นสู่รุ่น มีการปรับปรุงเรือนเป็นระยะสอดคล้องกับการใช้งานไปในแต่ละยุคสมัย มิติด้านวัสดุและเทคนิคการก่อสร้างที่สะท้อนภูมิปัญญาของช่างฝีมือทั้งช่างไม้และช่างปูน ทั้งช่างล้านนาและช่างจีน มิติทางด้านความงามของสัดส่วน รูปทรง ที่เหมาะเจาะพอดี ความงามของการอยู่ร่วมกันของวัสดุไม้กับปูน ที่ผสมผสานรูปแบบล้านนากับตะวันตก ตลอดจนความงามความพอดีขอลวดลายประดับของอาคาร หนังสือเล่มนี้จึงเปรียบเหมือนตัวกลางพาให้ผู้ที่สนใจในสถาปัตยกรรม เห็นการปรากฏตัว เห็นประกายคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในสถาปัตยกรรมประเภทคุ้มสมัยก่อน เห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ ไม่ลืมรากที่ลุ่มลึกของบรรพบุรุษ ที่สมควรจะอนุรักษ์ สืบสาน เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาสถาปัตยกรรมสืบไป
คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ เรือนไม้อายุกว่าร้อยปี เป็นหลักฐานทางประวัติประเภทเรือนพักอาศัยสำหรับคนชั้นสูงแห่งสังคมล้านนาที่ยังคงความสมบูรณ์และหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่แห่งในกลางเวียงเชียงใหม่ ปัจจุบันคุ้มเจ้าฯ แห่งนี้อยู่ในความครอบครองของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดูแลของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์หนังสือที่อาจารย์ปิยเดช อัครโพธิวงศ์ และทีมงานทำออกมานี้ เป็นการแสดงถึงการสำรวจ สืบค้น อย่างมุ่งมั่น จริงจัง ภายใต้งบประมาณอันจำกัดเพื่อที่จะพาคุณค่าในมิติต่างๆ ของสถาปัตยกรรมคุ้มเจ้าฯ ออกมาให้ปรากฏไม่ว่าจะเป็นมิติทางประวัติศาสตร์ที่คุ้มแห่งนี้ ตกทอดผ่านมือมาจากรุ่นสู่รุ่น มีการปรับปรุงเรือนเป็นระยะสอดคล้องกับการใช้งานไปในแต่ละยุคสมัย มิติด้านวัสดุและเทคนิคการก่อสร้างที่สะท้อนภูมิปัญญาของช่างฝีมือทั้งช่างไม้และช่างปูน ทั้งช่างล้านนาและช่างจีน มิติทางด้านความงามของสัดส่วน รูปทรง ที่เหมาะเจาะพอดี ความงามของการอยู่ร่วมกันของวัสดุไม้กับปูน ที่ผสมผสานรูปแบบล้านนากับตะวันตก ตลอดจนความงามความพอดีขอลวดลายประดับของอาคาร หนังสือเล่มนี้จึงเปรียบเหมือนตัวกลางพาให้ผู้ที่สนใจในสถาปัตยกรรม เห็นการปรากฏตัว เห็นประกายคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในสถาปัตยกรรมประเภทคุ้มสมัยก่อน เห็นความสำคัญของประวัติศาสตร์ ไม่ลืมรากที่ลุ่มลึกของบรรพบุรุษ ที่สมควรจะอนุรักษ์ สืบสาน เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาสถาปัตยกรรมสืบไป